วันอาทิตย์, พฤษภาคม 4, 2025

สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

ปริญญา

สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)

ส.บ. (สาธารณสุขศาสตร์)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต

หลักสูตรระดับปริญญาตรี (4 ปี) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และเป็นไปตามร่างมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี ภายใต้กรอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน สาขา สาธารณสุขศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562

หลักสูตรทางวิชาชีพ

วัตถุประสงค์

1 เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการในการพัฒนาสุขภาพ จัดบริการหรือกิจกรรม พัฒนาสุขภาพ บูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสุขภาพของสังคม ตามบริบทของพื้นที่

2 เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา วิจารณญาณ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ

3 เป็นผู้เรียนรู้ ฉลาดรู้ มีปัญญา เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม มีทักษะศตวรรษที่ 21 มีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก สามารถสร้าง โอกาสและเพิ่มมูลค่าในการพัฒนาสุขภาพของตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศ

4 ผู้เรียนสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการงานด้านสาธารณสุข

5 ผู้เรียนสามารถดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีทางด้านสุขภาพและเป็นพลเมืองที่ดีของ ประเทศชาติและสามารถพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการในระดับที่สูงขึ้นได้

6 ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพในระดับ บุคคล ครอบครัว กลุ่มและชุมชน ได้อย่างเป็นองค์รวม

7 ผู้เรียนสามารถวางแผนพัฒนาสุขภาพของบุคคลในชุมชนอย่างเป็นองค์รวม โดยเน้นการมี ส่วนร่วมของชุมชน

8 มีทักษะในกระบวนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้าน สุขภาพ ตลอดจนใช้กระบวนการวิจัยและเลือกใช้ผลการวิจัยในการพัฒนางานสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข

9 ผู้เรียนสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดำเนินงานด้าน สาธารณสุข

10 ผู้เรียนสามารถสื่อสารปัญหาทางสาธารณสุขและแนวทางป้องกันแก้ไข รวมถึงการส่งเสริม สุขภาพแก่สาธารณชนได้

11  ผู้เรียนมีความสามารถในการปฏิบัติงานทางด้านการบริหารจัดการระบบข้อมูลข่าวสาร การบริหารวิชาการ การบริหารองค์กร และการสนับสนุนงานทางด้านสาธารณสุข

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1 นักวิชาการสาธารณสุขในกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงอื่นๆ

2 นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยงานเอกชน

3 บุคลากรฝ่ายส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน

4 นักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย

5 ผู้ช่วยแพทย์ ผู้ช่วยทันตแพทย์ หรือผู้ช่วยเภสัชกร

6 ประกอบอาชีพอิสระ